วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Bill of exchange



Bill of exchange
ตั๋วแลกเงิน (Bill of exchange) คือ ตราสารการเงินระยะสั้น ที่บุคคลรายหนึ่งสั่งให้บุคคลอีกรายหนึ่ง จ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในตั๋วแลกเงินนั้น ให้แก่บุคคลอีกรายหนึ่ง ในวันที่กำหนดบนหน้าตั๋วแลกเงินนั้น ตั๋วแลกเงินสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ในตลาดเงิน (money market) ส่วนใหญ่จะมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรอง หรือรับอาวัล หรือสลักหลังอย่างไม่มีเงื่อนไข ตั๋วเงินชนิดหนึ่งเป็นตราสารแสดงสิทธิในหนี้ มักใช้ในการซื้อขายสินค้าหรือยืมระยะสั้นจากธนาคาร โดยทั่วไปสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้
การออกตั๋วแลกเงิน
แนวคิด
1. ตั๋วแลกเงินต้องมีรายการได้แก่ (1) คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน (2) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน (3) ชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย (4) ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ และ (5) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย หากรายการดังกล่าวขาดตกบกพร่องไป ย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน
2. วันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงินก็คือ วันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋ว ซึ่งแยกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ (1) ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น (2) ตั๋วแลกเงินที่กำหนดเวลาให้ใช้เงิน
3. ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินเกิดขึ้นโดยเงื่อนไขว่าผู้ทรงต้องยื่นตั๋วต่อผู้จ่ายก่อน ถ้าผู้จ่ายไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินและผู้ทรงจัดให้ทำคำคัดค้านแล้วผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังจะใช้เงินแก่ผู้ทรง
4. ข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดและข้อกำหนดลดหน้าที่ของผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินแยกได้ 2 ประการ ได้แก่ (1) ข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดของผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังที่มีต่อผู้ทรง (2) ข้อกำหนดลดหน้าที่ของผู้ทรงที่มีต่อผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลัง


รายการในตั๋วแลกเงิน
        ตั๋วแลกเงิน หมายถึง หนังสือตราซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่ายสั่งบุคคลอีกคนหนึ่งที่เรียกว่า ผู้จ่ายให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ผู้รับเงินตั๋วแลกเงินจึงเป็นคำสั่งให้จ่ายเงินนั่นเอง
อนุมาตรา (1) คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน
        คำบอกชื่อว่าตั๋วแลกเงินมีความหมายสำคัญเพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องรู้เห็นทราบได้ทันทีว่าตราสารนั้นเป็นตราสารพิเศษ และเนื่องจากเมื่อตราประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้น ตั๋วเงินเป็นของใหม่ไม่สู้แพร่หลาย จึงต้องบัญญัติให้ระบุลงไปในตั๋วให้ชัดแจ้งว่าเป็นตั๋วแลกเงิน ประกอบกับ Uniform Law (1930) ซึ่งเราอาศัยเป็นหลักในการร่างกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน
        สำหรับตั๋วแลกเงินมาจากต่างประเทศ อาจไม่มีคำว่า ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) เพราะบางประเทศ กฎหมายของเขาไม่บังคับให้ต้องระบุดังในมาตรา 909 (1) อย่างไรก็ดี คำบอกชื่อว่าตั๋วแลกเงินไม่จำเป็นต้องเขียนที่หัวกระดาษ อาจเป็นข้อความในตั๋วเงินว่า first of exchange ก็ได้
อนุมาตรา (2) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน
        รายการนี้เป็นข้อบังคับเด็ดขาด ถ้าขาดไปจะไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน (มาตรา 910) ตามรูปตัวอย่างตั๋วแลกเงินคือ โปรดจ่ายเงินจำนวนหนึ่งหมื่นบาทถ้าไม่กรอกจำนวนเงินเสียเลยหรือกรอกจำนวนเงินมิได้เป็นไปตามที่ผู้สั่งจ่ายขอร้อง ตั๋วแลกเงินนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ อธิบายแยกได้เป็น 3 หัวข้อ คือ
ก. คำสั่ง หมายความว่า เป็นคำบงการหรือคำบอก เพื่อให้ทำหรือให้ปฏิบัติโดยไม่ให้โอกาสเลือกทำหรือเลือกปฏิบัติของผู้รับคำสั่งและมิใช่เพียงแต่คำขอร้องหรือคำอ้อนวอนที่ผู้รับคำขอร้องหรือคำอ้อนวอนจะทำตามหรือไม่ก็ได้ อย่างไรก็ดี คำสั่งก็ไม่จำต้องเขียนลงไปในตัวแลกเงินตรงๆ ว่า ข้าพเจ้ามีคำสั่งให้จ่ายเงินเพราะอาจใช้ถ้อยคำสุภาพลงไปในคำสั่งนั้นได้ เช่น โปรดจ่ายเงินซึ่งจะไม่ทำให้ตั๋วแลกเงินฉบับนั้นเสียไปเพราะมีความหมายเป็นข้อความกำหนดให้จ่ายเงินโดยผู้จ่ายไม่มีโอกาสเลือกจ่ายหรือไม่จ่ายตามอัธยาศัยของผู้จ่ายเช่นเดียวกัน
ข. อันปราศจากเงื่อนไข หมายความว่า ลักษณะสำคัญที่สุดของตั๋วแลกเงิน คือ ความแน่นอนที่ตั๋วแลกเงินจะต้องได้รับการจ่ายเงินตามตั๋วนั้น จะมีเงื่อนไขในการคำสั่งให้จ่ายเงิน ตั๋วแลกเงินนั้นย่อมเกิดความไม่แน่นอนขึ้น คำว่าเงื่อนไข หมายความว่า เหตุการณ์อันใดอันหนึ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน (เทียบมาตรา 182 เติมมาตรา 144) จึงต่างกับเงื่อนเวลา ซึ่งจะต้องมาถึงในอนาคตอย่างแน่นอน ดั้งนั้น ข้อความในคำสั่งให้จ่ายเงินจะเป็นเงื่อนไขหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงความแน่นอนหรือไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่กำหนดไว้ในคำสั่งนั่นเอง
ค. ให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน หมายความว่า คำสั่งในตั๋วแลกเงินต้องเป็นคำสั่งจ่ายเงินถ้าเป็นคำสั่งให้กระทำการอย่างอื่นนอกจากเงินแล้วจะไม่ใช่ตั๋วแลกเงิน แต่ถ้ามีคำสั่งว่าให้จ่ายเงินและสิ่งของอื่นควบไปด้วย คงมีผลเฉพาะคำสั่งให้จ่ายเงินเท่านั้น ส่วนคำสั่งที่ให้จ่ายสินค้าที่ระบุไว้ ย่อมไม่มีผลแก่ตั๋วแลกเงิน (มาตรา 899) และถ้ามีคำสั่งให้ผู้รับตั๋วแลกเงินเลือกเอาว่าจะรับเงินหรือรับสิ่งของอื่นแทน ดังนี้น่าจะทำไม่ได้ เพราะจะกลายเป็นคำสั่งที่ไม่แน่นอน คำว่า เงินหมายถึง เงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติเงินตรา ตั๋วแลกเงินโดยมากใช้ในระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงสั่งจ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศก็ได้ (มาตรา 196) คำว่า เงินจำนวนแน่นอนหมายความว่า ต้องเป็นเงินจำนวนที่เที่ยงแท้ไม่อาจเปลี่ยนแปลงไปทางเพิ่มหรือทางลดลงได้
อนุมาตรา (3) ชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย
        รายการข้อนี้บังคับเด็ดขาด ถ้าขาดตกบกพร่องให้ถือว่าไม่เป็นตั๋วแลกเงิน (มาตรา 910)
        ผู้จ่าย คือ ผู้รับคำสั่งให้ใช้เงินตามตั๋วแลกเงิน จึงจำเป็นที่ผู้สั่งจ่ายต้องระบุชื่อผู้จ่ายไว้ในตั๋วแลกเงิน ผู้จ่ายอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ และอาจเป็นบุคคลเดียวหรือหลายคนร่วมกันจ่ายเงินก็ได้ เว้นแต่คำสั่งให้บุคคลหลายคนจ่ายเงินเรียงตามลำดับก่อนหลังโดยไม่ระบุให้รับผิดร่วมกัน หรือคำสั่งให้เลือกผู้จ่ายจากบุคคลหนึ่งบุคคลใดในหลายคนที่ระบุโดยไม่ระบุให้บุคคลเหล่านั้นต้องรับผิดร่วมกันจ่ายเงิน ย่อมทำให้ไม่ทราบตัวผู้จ่ายที่แน่นอนทำให้ตั๋วแลกเงินนั้นเสียไป
        การระบุชื่อจ่าย อาจระบุเพียงตำบลที่อยู่ซึ่งเข้าใจกันก็ได้ การระบุชื่อผู้จ่ายที่ไม่มีตัวตนหรือสมมติขึ้น ก็ไม่ทำให้ตั๋วแลกเงินเสียไป เพราะมีรายการชื่อผู้จ่ายแล้ว และตั๋วแลกเงินไม่มีตัวผู้จ่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดต่อผู้ทรง ส่วนยี่ห้อเป็นชื่อที่บุคคลใช้ในการค้า ไม่เป็นนิติบุคคล การระบุยี่ห้อเป็นผู้จ่ายต้องเข้าใจว่าหมายถึงบุคคลใด ถ้าไม่อาจทราบได้ ก็เท่ากับไม่มีตัวผู้จ่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดต่อผู้ทรง ผู้จ่ายอาจเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้สั่งจ่ายตามที่ มาตรา 912 วรรคสอง บัญญัติว่า ตั๋วแลกเงินจะสั่งจ่ายเอาจากตัวผู้สั่งจ่ายเองก็ได้
อนุมาตรา (4) วันถึงกำหนดใช้เงิน
วันถึงกำหนดใช้เงิน ย่อมเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ คือ
1. ในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้
2. เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น
3. เมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น
4. เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็น
        รายการนี้ถ้าไม่ระบุไว้ ไม่ทำให้ตั๋วแลกเงินเสียไป แต่กฎหมายให้ถือว่าพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น (มาตรา 910 วรรคสอง)
อนุมาตรา (5) สถานที่ใช้เงิน
        สถานที่ใช้เงินนั้น ตามความคิดธรรมดาที่ระบุไว้ก็เพื่อผู้ทรงจะได้รู้ตำแหน่งแห่งที่ในการที่จะเอาตั๋วไปขึ้นเงิน แต่ในกฎหมายตั๋วเงินนั้น ผู้จ่ายยังมิได้เข้าเป็นคู่สัญญาในตั๋วแลกเงิน สถานที่ใช้เงินจึงมีความสำคัญที่ผู้ทรงจะยื่นตั๋วแลกเงินเพื่อให้ผู้จ่ายรับรองหรือเพื่อเรียกร้องให้ผู้จ่ายใช้เงิน ณ ที่ใดตามที่กำหนดไว้ในตั๋วแลกเงินนั้น ถ้าไม่มีสถานที่ใช้เงินตามที่ระบุผู้ทรงต้องทำการคัดค้านไว้ (ม. 962) จึงจะไม่เสียสิทธิไล่เบี้ย (ม. 973) กรณีที่ไม่ได้แถลงไว้ในตั๋วแลกเงิน มาตรา 910 วรรคสาม ท่านให้ถือเอาภูมิลำเนาผู้จ่ายเป็นสถานที่ใช้เงิน
อนุมาตรา (6) ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงินหรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ
        รายการข้อนี้บังคับเด็ดขาด ถ้าขาดตกบกพร่องไปย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน ความสำคัญของชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงินคือ ทำให้ผู้จ่ายทราบว่าจะจ่ายเงินให้แก่ใคร จะเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาก็ได้ จะเป็นชื่อจริงหรือชื่อสมมุติ หรือตำแหน่งก็ได้ (ถ้าเป็นชื่อสมมุติและไม่มีตัวจริง กฎหมายอังกฤษให้จ่ายแก่ผู้ถือ แต่ของไทยไม่ได้ใช้อย่างนั้น)
อนุมาตรา (7) วันและสถานที่ออกตั๋วเงิน
ก. วันออกตั๋วเงิน หมายความถึงวันที่ระบุในตั๋วเงินนั้นได้ออกเมื่อใด ซึ่งกฎหมายไม่ได้ระบุว่าต้องใช้ ตามวันแห่งปฏิทินดังนั้นอาจระบุอย่างอื่นได้ เช่น วันเข้าพรรษา ปี 2537 หรือ วันเฉลิมพระชนมพรรษา ปี 2538 เป็นต้น ความสำคัญ คือ
1) แสดงให้รู้กำหนดอายุของตั๋วเงิน ตามชนิดต่าง ๆ เช่น ชนิดใช้เงินเมื่อเห็น หรือ เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็นว่า ผู้ทรงต้องนำตั๋วยื่นให้ผู้จ่ายใช้เงินหรือรับรองภายในกำหนด
2) ตั๋วเงินชนิดที่ให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินนั้น วันออกตั๋วเงินมีความสำคัญที่จะต้องระบุไว้ในตั๋วนั้น
3) ต้องใช้ในการคำนวณดอกเบี้ย
- บุคคลที่จะลงวันออกตั๋วเงิน มีได้ 2 คน คือ (1) ผู้สั่งจ่าย (2) ผู้ทรง
1) กรณีผู้สั่งจ่ายเป็นผู้ลงวันออกตั๋วเงิน : ผู้สั่งจ่ายสามารถตั้งใจลงวันให้ผิดความจริงได้ คือ ลงวันย้อนต้น ลงวันถัดไป หรือ ลงวันล่วงหน้า ก็ได้
2) กรณีผู้ทรงเป็นผู้ลงวันออกตั๋วเงิน : ม. 910 วรรคห้า ถ้ามิได้ลงวันออกตั๋ว ท่านว่าผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่งคนใดทำการโดยสุจริตจะจดวันตามที่ถูกต้องแท้จริงลงก็ได้และ มาตรา 932 วรรคแรก ตั๋วแลกเงินฉบับใดเขียนสั่งให้ใช้เงินในกำหนดระยะเวลาอย่างใดอย่างหนึ่งนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินนั้น แต่หากมิได้ลงวันไว้ ฯลฯ ท่านว่าผู้ทรงจะจดวันออกตั๋ว ฯลฯ ลงตามที่แท้จริงก็ได้ แล้วพึงให้ใช้เงินตามนั้นหมายความว่า ในกรณีที่ผู้สั่งจ่ายมิได้ลงวันออกตั๋วเงินไว้เลย ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายหรือผู้ทำการแทนผู้ทรงโดยชอบย่อมมีสิทธิที่จะจดวันออกตั๋วได้ แต่ต้องเป็นการจดวันตามที่ถูกต้องแท้จริงและการจดวันนั้นต้องจดโดยสุจริต คือ จดตามวันที่ผู้ทรงเชื่อหรือเข้าใจว่าเป็นวันที่ถูกต้องนั่นเอง
        ถ้าผู้ทรงจดวันลงไปไม่ตรงตามที่เป็นจริง ที่เรียกว่า ลงวันคลาดเคลื่อนหรือลงวันผิดนั้น ไม่ว่าผู้ทรงจะสุจริตหรือไม่สุจริตก็ตาม ถ้าตั๋วเงินนั้นโอนต่อไปยังผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนถัดไปแล้ว ก็ต้องบังคับตาม ม. 932 วรรคสอง อนึ่ง ท่านบัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ผู้ทรงทำการโดยสุจริตแต่ลงวันคลาดเคลื่อนไปด้วยสำคัญผิดและในกรณีลงวันผิดทุกสถาน หากว่าในภายหลังตั๋วเงินนั้นตกไปยังมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ท่านให้คงเป็นตั๋วเงินที่ใช้ได้และพึงใช้เงินกันเหมือนดั่งว่าวันที่ได้จดลงนั้นเป็นวันที่ถูกต้องแท้จริงที่กล่าวมาในข้อ 2 นี้เป็นกรณีที่ผู้สั่งจ่ายไม่ได้ลงวันออกตั๋วไว้เลย
ข. สถานที่ออกตั๋วเงิน รายการนี้ไม่บังคับเด็ดขาด ม. 910 วรรคสี่ ถ้าตั๋วแลกเงินไม่แสดงให้ปรากฏสถานที่ออกตั๋ว ท่านให้ถือว่าตั๋วเงินนั้นได้ออก ณ ภูมิลำเนาของผู้สั่งจ่าย
        ความสำคัญคือ เพื่อให้รู้ว่าเป็นตั๋วเงินภายในประเทศหรือตั๋วเงินออกมาแต่ต่างประเทศ และให้รู้ที่อยู่ผู้สั่งจ่ายในกรณีตั๋วเงินขาดความเชื่อถือโดยผู้จ่ายไม่รับรองหรือไม่ยอมใช้เงิน ผู้ทรงจะได้หาตัวผู้สั่งจ่ายพบ หรือจะได้ส่งคำบอกกล่าวได้ (ม. 963)
อนุมาตรา (8) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย
รายการนี้บังคับเด็ดขาด ถ้าขาดย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน (ม. 910)
ม. 9 “เมื่อมีกิจการอันใดซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือบุคคลผู้จะต้องทำหนังสือไม่จำเป็นต้องเขียนเอง แต่หนังสือนั้นต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น
ม. 900 วรรคสอง ถ้าลงเพียงแต่เครื่องหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น แกงได หรือลายพิมพ์นิ้วมือ อ้างเอาเป็นลายมือชื่อในตั๋วเงินไซร้ ถึงแม้ว่าจะมีพยานลงชื่อรับรองก็ตาม ท่านว่าหาให้ผลเป็นลงลายมือชื่อในตั๋วเงินไม่
9.1.2 วันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงิน
วันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงิน คือ วันถึงกำหนดใช้เงิน
ม. 913 “อันวันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงินนั้นท่านว่าย่อมเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้ หรือ
(2) เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น หรือ
(3) เมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น หรือ
(4) เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็นแบ่งเป็น 2 ชนิด
ก. ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น (ตาม ม. 913 (3))
- ตั๋วที่ให้ใช้เงินเมื่อเห็น นั้นผู้ทรงต้องยื่นให้ใช้เงินภายในหกเดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น ม. 944, 928
- ตั๋วที่ให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม นั้น ผู้ทรงยื่นตั๋วทวงถามให้ใช้เงินเมื่อใดผู้จ่ายต้องใช้เงินทันที ผู้ทรงเก็บตั๋วไว้ได้นาน อาจจะเป็นสิบปี ตามใดที่ไม่ทวงถาม กำหนดอายุความยังไม่มี อายุความยังไม่เริ่มนับตาม ม. 1001, 1002 นัย ฎ. 404/2515 เว้นแต่เช็ค ม. 990 “ผู้ทรงต้องยื่นเช็คต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงิน คือว่าถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็คต้องยื่นภายในเดือนหนึ่งนับแต่วันออกเช็คนั้น ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินที่อื่นต้องยื่นภายในสามเดือน ถ้ามิฉะนั้น ท่านว่าผู้ทรงสิ้นสิทธิจะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลังทั้งปวง ทั้งเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายด้วย เพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการที่ละเลยเสียไม่ยื่นเช็คนั้น
ข. ตั๋วแลกเงินที่มีกำหนดเวลาให้ใช้เงิน (ตาม ม. 913 (1) (2) (4))แบ่งเป็น 3 ชนิด
(1) ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้ (ตาม ม. 913 (1)) : ปกติจะกำหนดตามวันแห่งปฏิทิน แต่กฎหมายไม่ได้กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่า ตามวันแห่งปฏิทินจึงอาจกำหนดเป็นวันอื่นที่แน่นอนได้
(2) ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น ตาม ม. 913 (2)
(3) ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็น ตาม ม. 913 (4) : ผู้ทรงต้องยื่นตั๋วให้เห็นก่อนจึงจะเริ่มนั

ตั๋วเงินคืออะไร?  

ตั๋วเงิน คือ เอกสารเครดิตที่ใช้แทนเงินในวงการธุรกิจ  ตั๋วเงินอาจถูกขายเปลี่ยนมือผู้ถือหรือโอนสลักหลัง
ตั๋วเงินแบ่งเป็น  3  ประเภท  ได้แก่
1. ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note)
2. ตั๋วแลกเงิน  (Bill of Exchange)
3. เช็ค (Cheque)
1.   ตั๋วสัญญาใช้เงิน  (Promissory Note)
ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือตราสารที่บุคคลผู้หนึ่งที่เรียกว่าผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน 
ตั๋วสัญญาใช้เงินต้องมีข้อความต่อไปนี้
1. คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน
2. คำมั่นสัญญาโดยปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน
3. วันถึงกำหนดใช้เงิน
4. สถานที่ใช้เงิน
5. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงิน
6. วันและสถานที่ที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน
7. ลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว
ตัวอย่างตั๋วสัญญาใช้เงิน

http://www.thailaws.com/bipmap/aboutthailaw/pn.gif

2. ตั๋วแลกเงิน  (Bill of Exchange)
ตั๋วแลกเงิน  คือ  หนังสือตราสารที่บุคคลผู้หนึ่งที่เรียกว่าผู้สั่งจ่าย  สั่งบุคคลอีกผู้หนึ่ง เรียกว่าผู้จ่าย ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน 
ตั๋วแลกเงินต้องมีข้อความต่อไปนี้
1. คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน
2. คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินจำนวนแน่นอน
3. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้จ่าย
4. วันถึงกำหนดใช้เงิน
5. สถานที่ใช้เงิน
6. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงินหรือจ่ายให้แก่ผู้ถือ
7. วันและสถานที่ที่ออกตั๋ว
8. ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

ตัวอย่างของตั๋วแลกเงิน

http://www.thailaws.com/bipmap/aboutthailaw/be.gif

3.   เช็ค (cheque)
เช็ค  คือ  หนังสือตราสารที่บุคคลคนหนึ่งที่เรียกว่า  ผู้สั่งจ่าย  สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถาม  ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน เช็คต้องมีข้อความต่อไปนี้
1. คำบอกชื่อว่าเป็นเช็ค
2.  คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินจำนวนแน่นนอน
3. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงินหรือจ่ายให้แก่ผู้ถือ
4. ชื่อหรือยี่ห้อและสำนักงานของธนาคาร
5. สถานที่ใช้เงิน
6. วันและสถานที่ออกเช็ค
7. ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

ตัวอย่างของเช็ค

http://www.thailaws.com/bipmap/aboutthailaw/cheque.gif 

รายละเอียดต่างๆ  เกี่ยวกับตั๋วเงิน
1. เงินหน้าตั๋ว  (Face  Value)  คือ  จำนวนเงินที่ระบุไว้ในตั๋ว
2. วันถึงกำหนด   (Maturity  Date)   คือ  วันที่ผู้ออกตั๋วจะต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้ถือตั๋วตามสัญญาใช้เงิน
3. เงินถึงกำหนด  (Maturity  Value)  คือ  เงินหน้าตั๋วบวกดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงิน
4.เงินส่วนลด คือ  เงินที่ผู้ถือตั๋วถูกหักไว้เป็นค่าป่วยการ เนื่องจากนำตั๋วไปขายก่อนถึงวันกำหนด เงินที่ได้รับหลังจากหักเงินส่วนลดแล้วเรียกว่าเงินปัจจุบัน และวันที่นำตั๋วเงินไปขายเรียกว่าวันคิดลด และการนับจำนวนวันสำหรับคิดเงินส่วนลดให้เริ่มนับหลังจากวันคิดลด 1  วัน จนถึงวันกำหนด
ดังนั้น  เงินส่วนลด        =         เงินถึงกำหนด  x  อัตราส่วนลด  x  เวลา 

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

file

[url=http://file1.uploadfile.biz/i/EVEZMEIIIVMDDN]Download คลิกที่นี่[/url]
http://file1.uploadfile.biz/i/EVEZMEIIIVMVIM

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Documents Used in Import – Export


การชำระเงินค่าสินค้า

การชำระเงินค่าสินค้า
เมื่อมีการซื้อขายสินค้าในธุรกรรมระหว่างประเทศเกิดขึ้น การชำระเงินค่าสินค้าที่ผู้ซื้ออยู่ในประเทศหนึ่ง และผู้ขายอยู่ในอีกประเทศหนึ่ง สามารถกระทำได้หลายวิธีดังนี้

1. การชำระโดยตรงด้วยการโอนเงิน
ผู้ซื้อชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ผู้ขายด้วยการโอนเงินก่อนการส่งมอบสินค้า (T/T) การซื้อขายในเทอมนี้ผู้ซื้อจะเสียเปรียบหากผู้ขายไม่ส่งสินค้าให้ ในภายหลัง หากจะใช้เทอมนี้ผู้ซื้อและผู้ขายต้องเป็นทำธุรกิจร่วมกันมานาน เพราะใช้ความไว้เนื้อเชื่อใจเป็นพิ้นฐานในการรับประกัน
.
2. การชำระโดยผ่านธนาคาร
ในธุรกิจระหว่างประเทศ การชำระเงินที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ ชำระเงินผ่านธนาคาร ซึ่งมี 4 ประเภทดังนี้

• การชำระเงินด้วย Letter of credit (L/C)
• การชำระเงินโดยวิธีเรียกเก็บจากธนาคาร (Bill for collection)
• การชำระเงินแบบ Open Account
• การชำระเงินแบบ Consignment

1.1 การชำระเงินด้วย Letter of credit
เป็นการชำระเงินค่าสินค้าผ่านธนาคาร เพราะเป็นหลักประกันว่าผู้ขายจะได้รับเงินค่าสินค้าเมื่อมีการส่งมอบสินค้าลงเรือหรือยานพาหนะขนส่งตามแต่ที่ได้ตกลงไว้ และผู้ซื้อสินค้าจะได้รับสินค้าเมื่อจ่ายเงินค่าสินค้า

L/C เป็นตราสารทางการค้าซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์จามคำสั่งของผู้ซื้อ (applicant) ซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารในประเทศหนึ่ง เพื่อส่งไปให้แก่ผู้รับประโยชน์ (beneficiary) ซึ่งเป็นผู้ขายในอีกประเทศหนึ่ง โดยส่งผ่านธนาคารผู้รับแอลซีในประเทศของผู้ขาย (advising bank) ตราสารนี้เป็นคำรับรองหรือสัญญาของธนาคารผู้เปิดแอลซีว่าจะจ่ายเงินเงินตามที่ระบุไว้ในแอลซีให้แก่ผู้ขายสินค้า เมื่อผู้ขายสินค้าส่งมอบสินค้า และได้แสดงเอกสารให้แก่ธนาคารผู้รับซื้อเอกสารและตั๋วเงิน (negotiating bank) ได้ครบถ้สนถูกต้องตามที่ระบุไว้ในแอลซี ตลอดจนเงื่อนไขต่างๆและระยะเวลาที่กำหนดในแอลซีด้วย

ข้อควรรู้
- เงื่อนไขต่างๆในแอลซีจะใช้ควบคุมได้เฉพาะความถูกต้องของเอกสารเท่านั้น ไม่สามารถควบคุมตัวสินค้าได้
- ในส่วนคุณภาพของสินค้า หากผู้ซื้อไม่แน่ใจว่าผู้ขายจะเชื่อถือได้หรือไม่ ผู้ซื้อสามารถแต่งตั้งบริษัทตัวแทนผู้ตรวจสินค้าโพ้นทะเล (independent surveyor) ในการตรวจสอบคุณภาพสินค้าและออกหนังสือรับรองการตรวจสอบให้ ดังนั้นต้องระบุในแอลซีด้วยว่า ผู้ขายจะต้องแนบหนังสือรับรองการตรวจสอบสินค้า (inspection certificate) ที่ออกให้โดยตัวแทนของผู้ซื้อแนบไปกับเอกสารขึ้นเงินที่ผู้ขายนำส่งธนาคารด้วย

2.2 ประเภทของ Letter of credit
แอลซีที่ใช้ในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศมี 2 ประเภท คือ
1. แอลซีที่เพิกถอนได้ (Revocable Letter of credit) เมื่อผู้ซื้อขอเปิดแอลซีไปให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศแล้ว ผู้ซื้อหรือธนาคารจะแจ้งยกเลิกเสียเมื่อไหร่ก็ได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ขาย ดังนั้นจึงไม่มีนิยมนำมาใช้ในการซื้อขายระหว่างประเทศ

2. แอลซีที่เพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable Letter of credit) เมื่อธนาคารของผู้ซื้อเปิดแอลซีไปแล้ว ธนาคารและผู้ซื้อไม่สามารถยกเลิกแอลซีได้ อย่างไรก็ตามแอลซีที่ไม่ได้ระบุว่าเป็นแอลซีที่เพิกถอนได้ ในทางปฎิบัติจะถือว่าเป็นแอลซีที่เพิกถอนไม่ได้

3.3 ชนิดของ Letter of credit
1. Fix L/C คือ แอลซีที่กำหนดแน่นอนทั้งวงเงินและอายุของแอลซี เมื่อครบกำหนดอายุของแอลซีแล้วหรือผู้ขายได้ส่งสินค้าตามวงเงินแอลซีครบถ้วนแล้วจะใช้ในการส่งสินค้าหรือขอรับเงินจากธนาคารอีกไม่ได้

2. Straight Documentary L/C คือ แอลซีที่ธนาคารผู้เปิดแอลซีรับรองว่าจะจ่ายเงินให้แก่ผู้ขายสินค้า เมื่อผู้ขายสินค้าส่งเอกสารไปให้แก่ธนาคารผู้เปิดแอลซีโดยตรงเท่านั้น แอลซีชนิดนี้ถึงแม้ผู้ขายจะเตรียมเอกสารถูกต้องทั้งหมดแต่ส่งเอกสารผ่านธนาคารของผู้ขายหรือธนาคารอื่นๆไปยังธนาคารผู้เปิดแอลซี ดังนั้นธนาคารผู้เปิดแอลซีจะไม่จ่ายเงินให้

3. Negotiation Documentary L/C คือ แอลซีที่ธนาคารผู้เปิดแอลซีกำหนดให้ผู้ขายสินค้านำตั๋วเงินพร้อมเอกสารประกอบตามที่กำหนดในแอลซีไปขึ้นเงินค่าสินค้ากับธนาคาร ซึ่งแบ่งตามลักษณะการกำหนดธนาคารที่รับซื้อตั๋วเป็น 2 ประเภทดังนี้
Restricted L/C คือ ธนาคารผู้เปิดแอลซีกำหนดชื่อธนาคารที่จะขึ้นเงืนได้เป็นการเฉพาะเจาะจง
Unrestricted L/C คือ ธนาคารผู้เปิดแอลซีไม่ได้กำหนดชื่อของธนาคารที่จะขึ้นเงินได้ ดังนั้นผู้ขายสามารถนำตั๋วไปขึ้นเงินกับธนาคารใดๆก็ได้

4. Revolving L/C คือ แอลซีที่เมื่อใช้แล้วสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกหรือใช้หมุนเวียนได้ ผู้ซื้อต้องการให้ผู้ขายใช้ขึ้นเงินในการส่งสินค้าได้เรื่อยๆโดยที่ผู้ซื้อไม่ต้องเปิดแอลซีใหม่หรือไม่ต้องมีคำขอแก้ไขเพิ่มจำนวนเงินใหม่ (amendment)โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเปิดแอลซีเป็นจำนวนมาก แอลซีชนิดนี้จะเป็นแอลซีใบเล็กๆที่ใช้แทนใบใหญ่ๆที่เปิดเพียงครั้งเดียวแล้วทยอยส่งของเรื่อยๆในช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน จึงเหมาะสำหรับการซื้อขายที่ทำกันเป็นประจำ และเป็นสินค้าชนิดเดียวกันที่ซื้อขายเป็นจำนวนมาก ดังนั้นแอลซีนี้จะกำหนดจำนวนเงินที่มากพอสำหรับการส่งออกและขึ้นเงินในแต่ละครั้งของผู้ขายจนกว่าจะหมดอายุของแอลซีหรือจนกว่าจะหยุดการส่งสินค้า

การเปิด revolving L/C มี 2 แบบ คือ
Automactic revolving L/C เป็นแอลซีที่ใช้งานต่อได้ทันที
Controlled revolving L/C เป็นแอลซีที่ต้องขออนุญาติหรือคำยินยอมจากผู้ซื้อก่อน ผู้ขายจึงจะนำไปใช้งานได้อีก

ข้อควรรู้
- หากผู้ขายส่งสินค้าไม่ครบ อาจกำหนดให้นำสินค้าส่วนที่เหลือไปรวมกับการส่งของในครั้งถัดไปเรียกว่า Accumulative Revolving L/C ถ้าไม่อนุญาตให้นำสินค้าส่วนที่เหลือไปรวมกับการส่งสินค้าครั้งถัดไป เรียกว่า Non-
Accumulative Revolving L/C

5. Transferable L/C คือ แอลซีที่สามารถโอนต่อให้บุคคลอื่นได้ไม่ว่าบุคคลอื่นนั้นจะอยู่ในประเทศเดียวกันต่างประเทศก็ได้ และโอนให้บุคคลอื่นเพียงรายเดียวหรือหลายรายก็ได้ แต่จะโอนได้เพียงทอดเดียว ผู้รับประโยชน์ (beneficiary) ที่ได้รับโอนมาจะโอนต่อไปให้บุคคลอื่นอีกทอดหนึ่งไม่ได้ และผู้โอนไม่สามารถเพิ่มเงื่อนไขที่นอกเหนือจากแอลซีที่ได้รับมาจากต่างประเทศ ยกเว้นจำนวนเงินหรือราคา ระยะเวลาการส่งมอบสินค้า การส่งเอกสาร การหมดอายุของแอลซี โดยจะเป็นการโอนทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน แต่จำนวนเงินที่โอนต้องไม่เกินไปกว่าที่ระบุในแอลซี

6. Back to Back L/C คือ การเปิดแอลซีภายในประเทศ โดยอาศัยหลักประกันแอลซีที่เปิดมาจากต่างประเทศ เพราะ ผู้ขายได้รับแอลซีจากต่างประเทศแต่ไม่มีสินค้าเป็นของตนเอง จึงใช้แอลซีชนิดนี้สั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตในประเทศเดียวกัน เพื่อให้ผู้ผลิตส่งสินค้าไปนอกราชอาณาจักรแทน ดังนั้นเงื่อนไขต่างๆในแอลซีฉบับที่สองที่เปิดให้ผู้ผลิตจึงยึดตามแอลซีฉบับแรก ยกเว้นราคาสินค้าเท่านั้นที่มีราคาต่ำกว่าแอลซีฉบับแรก เมื่อมีการส่งมอบสินค้าผู้ผลิตจะนำเอกสารไปขึ้นเงินที่ธนาคารของผู้ขาย ผู้ขายจะนำเอกสารต่างๆพร้อมตั๋วขึ้นเงินของผู้ขายไปยื่นต่อธนาคาร ธนาคารจะทำการ negotiate L/C ทั้งสองฉบับพร้อมกัน โดยนำเงินที่ได้จากแอลซีฉบับแรกไปชำระค่าสินค้าให้แก่ผู้ผลิตจามแอลซีฉบับที่สอง และนำส่วนต่างค่าสินค้าที่ได้เข้าบัญชีของผู้ขาย

7. Red Clause L/C คือ แอลซีที่ผู้ซื้อเปิดให้ผู้ขาย โดยอนุญาติให้ผู้ขายรับเงินค่าสินค้าบางส่วนหรือทั้งหมดไปก่อนการส่งสินค้า เมื่อผู้ขายรับเงินค่าสินค้าล่วงหน้าไปแล้ว ธนาคารผู้รับแอลซี (advising bank) จะส่งเอกสารการจ่ายเงินไปเรียกเก็บค่าสินค้าจากผู้ขายในทันที ส่วนเอกสารการส่งออกจะส่งตามไปภายหลังจากที่ผู้ขายได้ส่งออกสินค้าและนำเอกสารมามอบต่อธนาคารแล้ว แอลซีชนิดนี้ถือเป็นสินเชื่อที่ผู้ซื้อให้แก่ผู้ส่งออก ดังนั้นผู้ซื้อต้องมีความไว้วางใจในผู้ขายเป็นอย่างมาก โดยผู้ขายต้องจ่ายดอกเบี้ยและไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยขึ้นอยู่กัยข้อตกลง

8. Stand by L/C คือ แอลซีที่ใช้ในการค้ำประกันค่าสินค้าหรือบริการ ค้ำประกันเงินกู้ ค้ำประกันการออก Letter of Guarantee

9. Domestic L/C or Local L/C คือ แอลซีที่ผู้ซื้อสินค้าเปิดให้แก่ผู้ขายที่อยู่ในประเทศเดียวกัน ซึ่งเป็นการซื่อสินค้าภายในประเทศหรือส่งออกไปยังต่างประเทศก็ได้ สกุลเงินที่ใช้เป็นสกุลเงินท้องถิ่น

4.4 ความน่าเชื่อถือของ Letter of credit
ผู้ขายจะแน่ใจได้อย่างไรว่าแอลซีที่เปิดมาจากผู้ซื้อมีความน่าเชื่อถือเพียงไร ดังนั้นธนาคารจึงมีส่วนสำคัญในการที่จะเพิ่มคำรับรองว่าจะจ่ายค่าสินค้าให้แก่ผู้ขาย เมื่อมีการซื้อขายครั้งแรก ผู้ขายอาจร้องขอให้ผู้ซื้อเปิดแอลซีที่เพิ่มคำรับรองว่าจะรับซื้อตั๋วของธนาคารผู้รับแอลซี เพื่อเป็นหลักประกันในการที่จะได้รับการชำระค่าสินค้าจากธนาคารผู้รับแอลซีที่อยู่ในประเทศของผู้ขาย แอลซีที่ใช้ในการชำระค่าสินค้าสามารถจำแนกความน่าเชื่อถือได้ 2 แบบ คือ

1. แอลซีที่ไม่มีการเพิ่มคำรับรองว่าจะรับซื้อตั๋ว (Letter of credit without adding confirmation) คือ แอลซีที่ธนาคารผู้เปิดแอลซีไม่ได้ร้องขอให้ธนาคารตัวแทนผู้รับแอลซีเพิ่มคำรับรองให้ผู้ขายว่าจะเข้าร่วมผูกพันในการชำระค่าสินค้าร่วมกับธนาคารผู้เปิดแอลซี ดังนั้นธนาคารผู้รับแอลซีจะดำเนินการเพิ่มคำรับรองดังกล่าวโดยพลการให้แก่ผู้ขายไม่ได้

2. แอลซีที่มีการเพิ่มคำรับรองว่าจะรับซื้อตั๋ว (Letter of credit with adding confirmation) คือ แอลซีที่ธนาคารผู้เปิดแอลซีได้ร้องขอให้ธนาคารตัวแทนผู้รับแอลซีเพิ่มคำรับรองให้ผู้ขายว่าจะเข้าร่วมผูกพันในการชำระค่าสินค้าร่วมกับธนาคารผู้เปิดแอลซี ทำให้ผู้ขายมั่นใจว่าจะได้รับการชำระค่าสินค้าจากธนาคารที่ยืนยันแอลซี ไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นกับธนาคารผู้เปิดแอลซีหรือประเทศของธนาคารผู้เปิดแอลซีก็ตาม

ข้อความที่พบเสมอในแอลซีที่เพิ่มคำรับรอง คือ This credit is confirmed by us and we undertake that all documents presented in accordance with the terms and conditions of this credit will be honored by us.

ข้อควรรู้
- ธนาคารผู้รับแอลซีจะเพิ่มคำรับรองให้แก่ผู้ขายหรือไม่ก็ได้
- หากธนาคารผู้รับแอลซีไม่เพิ่มคำรับรองให้แก่ผู้ขาย ผู้ขายจะร้องขอให้ธนาคารผู้รับแอลซีจัดหาธนาคารอื่นมาเพิ่มคำรับรองให้ก็สามารถกระทำได้
- แอลซีที่ได้รับการยืนยันเรียกว่า Confirmed L/C ส่วนธนาคารที่ยืนยันเรียกว่า Confirming Bank
- ค่าใช้จ่ายในการ confirm L/C โดยปรกติจะเป็นของผู้ขาย ซึ่งธนาคารอาจเรียกเก็บในอัตราที่สูงมากขึ้นอยู่กับฐานะทางการเงินของประเทศและฐานะของธนาคารผู้เปิดแอลซี
- แอลซีที่ได้รับการยืนยันแล้ว หากมีคำขอแก้ไขเพิ่มเติม (amendment) มาจากผู้ซื้อ มิได้หมายความว่าคำขอแก้ไขเพิ่มเติมนั้นจะได้รับการยืนยันด้วย

5.5 แนวทางปฎิบัติโดยสากลของ Letter of credit (UCP500)UCP500 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับประเพณีและพิธีการที่เกี่ยวกับแอลซีที่มีเอกสารประกอบ (The uniforms custom & practice for documentary credits,1993 revision, ICC publication no.500) ที่บัญญติขึ้นโดยสภาหอการค้าระหว่างประเทศ (International Chamber of Commerce) หรือเรียกย่อว่า I.C.C. เป็นบทบัญญัติที่ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งจะต้องปฎิบัติเป็นมาตรฐานที่เหมือนกันหมดทั่วโลก และถือเป็นส่วนหนึ่งในสัญญาที่ผู้ซื้อและผู้ขายและธนาคารทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องปฎิบัติตามและมีผลผูกมัดในการซื้อขายที่กระทำโดยแอลซีนั้นๆ

ข้อความที่พบในแอลซีเกี่ยวกับการระบุให้มีผลบังคับใช้ “ประเพณีและพิธีการเกี่ยวกับแอลซีที่มีเอกสารประกอบ” คือ Subject to uniform customs & practice for documentary credit,international chamber of commerce publication no.500 หรือ Subject to UCP500 หรือ Subject to UCP 1993 revision, ICC publication No.500

3. การชำระเงินโดยวิธีการเรียกเก็บผ่านธนาคาร (Bill for collection)เป็นการเรียกเก็บเงินค่าสินค้าผ่านธนาคาร โดยยึดถือข้อปฎิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับตั๋วเรียกเก็บฉบับที่ 522 ปี ค.ศ.1955 (URC522) ของสภาหอการค้านานาชาติ แบ่งได้เป็น 2 ชนิดดังนี้

1. D/P (Document Against Payment)b> คือ ผู้ขายส่งเอกสารไปเรียกเก็บเงินค่าสินค้าที่ส่งไปให้ผู้ซื้อผ่านธนาคารของผู้ขายไปยังธนาคารตัวแทนในประเทศของผู้ซื้อ เพื่อเรียกเก็บค่าสินค้าก่อนการส่งมอบเอกสาร ซึ่งมี 2 แบบ คือ
D/P sight คือ ผู้ซื้อจะต้องชำระค่าสินค้าก่อนจึงจะรับเอกสารจากธนาคารไปออกของได้
D/P term คือ ผู้ซื้อต้องชำระค่าสินค้าภายในเวลาที่กำหนดในตั๋วก่อน จึงจะรับเอกสารจากธนาคารไปออกของได้ เช่น 30 วันหรือ 90 วัน

2. D/A (Document Against Acceptance)b> คือ ผู้ขายส่งเอกสารไปให้ผู้ซื้อผ่านธนาคารของผู้ขายไปยังธนาคารตัวแทนในประเทศของผู้ซื้อ เพื่อให้ผู้ซื้อนำเอกสารจากธนาคารไปออกของก่อนการชำระเงิน โดยเทอมนี้ต้องกำหนดจำนวนวันจ่ายเงินด้วย เช่น 30 วันหรือ 120 วัน

3. การชำระค่าสินค้าโดยวิธี Open Account
เป็นการที่ผู้ขายและผู้ซื้อตกลงซื้อขายกันโดยตรง โดยผู้ขายจะส่งสินค้าไปให้แก่ผู้ซื้อก่อน เมื่อผู้ซื้อได้รับสินค้าแล้วจึงไปติดต่อธนาคารเพื่อโอนเงินค่าสินค้าให้ผู้ขายตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น 30 วันหรือ 60 วัน หลังจากที่ได้รับสินค้าหรือเห็นเอกสารตามแต่จะตกลงกัน ซึ่งเป็นการโอนทาง T/T Remittance หรือตั๋วเงิน การวื้อขายด้วยวิธีนี้ผู้ขายเป็นฝ่ายเสียเปรียบเพราะไม่มีหลักประกันว่าผู้ซื้อจะชำระค่าสินค้าให้แก่ผู้ขาย ธนาคารเข้ามาเกี่ยวข้องเมื่อมีการโอนเงินเท่านั้น

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

International organazation

International organazation

IAEA (International Atomic Energy Agency)
ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ
ตั้งอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เป็นองค์การอิสระและมีความเกี่ยวเนื่องอย่างใกล้ชิดกับสหประชาชาติ ทำหน้าที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการใช้พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)
IAI (Initiatives for ASEAN Integration)
ความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน

ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)
IBRD (International Bank for Reconstruction and Development)
ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและการพัฒนา
เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ธนาคารโลก (World Bank) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 เพื่อส่งเสริมให้เงินทุนมีการไหลเวียนระหว่างประเทศ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือในด้านการให้กู้ในโครงการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศกำลังพัฒนา
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)
IBSA ( India-Brazil-South Africa )
เวทีเจรจาสามฝ่าย ระหว่างอินเดีย บราซิล และแอฟริกาใต้
มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสิมความร่วมมือในกรอบใต้-ใต้ในวงกว้าง เป้าหมายหลัก IBSA คือการส่งเสริมและขยายโอกาส ด้านการค้า การลงทุน การพัฒนาสังคม และการเลแกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกัน
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)
ICAO (International Civil Aviation Organization)
องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
" เป็นทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2490 โดยอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (Convention on International Civil Aviation) มีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นหน่วยงานกลางระหว่างประเทศสมาชิก ในการออกกฎ ระเบียบ และ ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการบินพลเรือน ปัจจุบันมีสมาชิก 185 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา "
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)
ICBL (International Campaign to Ban Landmines)
องค์กรสากลรณรงค์เพื่อยุติกับระเบิด

ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)
ICCPR (International Covenant on Civil and Political Rights)
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศภายใต้กรอบสหประชาชาติหลักด้านสิทธิมนุษยชน 1 ใน 2 ฉบับ ซึ่งแปรข้อบทในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนให้มีพันธะผูกพันทางกฎหมายแก่ประเทศภาคี สหประชาชาติรับรองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2509 มีผลใช้บังคับเมื่อปี พ.ศ. 2519 ไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2540
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)
ICESCR (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights)
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
" เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศภายใต้กรอบสหประชาชาติหลักด้านสิทธิมนุษยชน 1 ใน 2 ฉบับ ซึ่งแปรข้อบทในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนให้มีพันธะผูกพันทางกฎหมายแก่ประเทศภาคี สหประชาชาติรับรองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2509 มีผลใช้บังคับเมื่อปี พ.ศ. 2519 ไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2542 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 "
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)
ICFD (International Conference on Financing for Development)
การประชุมนานาชาติว่าด้วยการสนับสนุนทางการเงินสำหรับการพัฒนา

ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)
ICJ (International Court of Justice)
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)
ICRC (International Committee of the Red Cross)
คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ

ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)
ICSC (International Civil Service Commission)
คณะกรรมาธิการพนักงานพลเรือนระหว่างประเทศ

ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)
ICTR (International Criminal Tribunal for Rwanda)
ศาลอาญาระหว่างประเทศสำหรับรวันดา

ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)
ICTY (International Criminal Tribunal for the Former Yugoslavia)
ศาลอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย

ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)
IEG (Investment Expert Group)
กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน
เป็นกลไกหนึ่งภายใต้ ASEM
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)
IFAD (International Fund for Agricultural Development)
กองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาเกษตรกรรม

ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)
IFC (International Finance Corporation)
บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ
มีความเกี่ยวเนื่องกับธนาคารโลก แม้ว่าจะมีสถานะเป็นองค์กรแยก ต่างหาก IFC มีหน้าที่สนับสนุนภาคเอกชนในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)
IGC (Intergovernmental Conference)
การประชุมระหว่างรัฐบาลของสหภาพยุโรป
" เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ เพื่อกำหนดทิศทางและ โครงสร้างของสหภาพฯ ตามสนธิสัญญาหลัก ๆ ที่สหภาพฯ มี "
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)
IL (Inclusion List)
รายการในบัญชี
" หมายถึง รายการสินค้าที่อยู่ในแผนความตกลงในแต่ละกรณี อาทิ รายการสินค้าในบัญชีลดอัตราภาษีศุลกากรให้เหลือร้อยละ 0-5 ของเขตการค้าเสรีอาเซียน "
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)
ILEA (International Law Enforcement Academy)
สถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย
จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยเมื่อเดือนกันยายน 2541 เป็นโครงการ 3 ปี (ระหว่าง 2541-2544) โดยสหรัฐอเมริกาให้เงินสนับสนุน 3 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจัดการฝึกอบรมแก่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีน เพื่อเสริมศักยภาพการดำเนินการตามกฎหมายในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมระหว่างประเทศ
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)
ILO (International Labor Organization)
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ
มีสถานะเป็นทบวงการชำนัญพิเศษ ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ มีหน้าที่ส่งเสริมปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงาน โดยการตั้งมาตรฐานในด้านค่าจ้าง ชั่วโมงการทำงาน เงื่อนไขการว่าจ้าง และการประกันสังคม
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)
IMF (International Monetary Fund)
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเงิน อำนวยความสะดวก เพื่อให้เกิดความเจริญเติบโตด้านการค้าระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้เกิดระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราที่มั่นคงและเป็นระเบียบ การกำจัดข้อจำกัดด้านการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ และช่วยเหลือประเทศสมาชิกโดยการจัดหาทรัพยากรด้านการเงินเป็นการชั่วคราว เพื่อแก้ไขปัญหาด้านดุลการชำระเงิน
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ISO (International Organization for Standardization)
องค์การมาตรฐานระหว่างประเทศ
เป็นองค์กรระหว่างประเทศทำหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)
ITC (International Trade Centre)
ศูนย์พาณิชยกรรมระหว่างประเทศ
ภายใต้อังค์ถัดและองค์การการค้าโลก เป็นศูนย์กลางของสหประชาชาติ สำหรับการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาในด้านการส่งเสริมการค้าและการพัฒนาการส่งออก
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)
ITU (International Telecommunication Union)
สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ มีหน้าที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคม ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาในด้านโทรคมนาคม สนับสนุนการพัฒนาในด้านดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชาติทั้งปวง
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)
IUCN (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources )
สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์
(ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น The World Conservation Union)
ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)
IUPAC (International Union of Pure and Applied Chemistry)
สหภาพระหว่างประเทศว่าด้วยเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์

ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2)

ที่มา:  http://www.mfa.go.th/business/856.php?code